ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ชาวพุทธ เป็นความคิดริเริ่มของ Buddhanet บริหารงานโดยพุทธธรรมศึกษาสมาคม(Buddha Dharma Education Association Inc. _BDEA) สำนักงานตั้งอยู่ที่วัดป่าโพธิ(Bodhi Tree Forest Monastery) เมืองลิสมอร์ รัฐนิวเซาต์เวล ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(MCU) วิทยาลัยชาวพุทธนานาชาติ(IBC) หาดใหญ่ และ วัด กวงมิง ซัน ภูเจียว ชันซื่อ ประเทศสิงคโปร์
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ชาวพุทธ ในระยะเริ่มต้น จะเน้นการพัฒนาเป็นห้องสมุดดิจิตัลแหล่งเรียนรู้สำหรับชาวพุทธเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถจะดาวโหลดผ่านเว็บไซต์ได้ฟรี จากนั้น จะขยายงาน โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาระบบ Web base ให้มีบรรยากาศการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้เอื้อต่อการเผยแผ่หลักพุทธธรรมให้มากขึ้น
นโยบายของ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ชาวพุทธ คือ ส่งเสริมให้มีการศึกษาและการพัฒนาหลักธรรมะในยุคโลกาภิวัตน์โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือของชาวพุทธจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก โดย ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ชาวพุทธ มีหลักการยึดถือร่วมกันสำคัญคือ “ธรรมะมีหนึ่งเดียว แต่สามารถเผยแผ่ไปสู่มหาชนได้ทุกคน ตามขนบธรรมประเพณี ภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลายของชาวพุทธในท้องถิ่นนั้น ๆ ”
วัตถุประสงค์ของ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ชาวพุทธ มีดังนี้
-
พัฒนาห้องสมุดทรัพยากรการเรียนรู้แบบดิจิตัล พัฒนาด้วยระบบฐานข้อมูล MySQL เพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่อต่างๆ ทั้งประเภทข้อความ(text) ธรรมบรรยาย(audio) ภาพพุทธศิลป์(artwork) วิดีโอ(video) เกี่ยวกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั่วโลก
-
มีการสอนหลักพุทธธรรมออนไลน์ โดยใช้ระบบ ‘Claroline’ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการการเรียนการสอน (LMS) ผ่านอินเตอร์เน็ต
-
สร้างระบบ eLearning สำหรับชาวพุทธ สร้างบทเรียนพุทธศาสตร์ออนไลน์ เพื่อนำไปใช้ในสถานศึกษา ให้ครอบคลุมทั้ง พุทธประวัติ หลักธรรมคำสอนที่เป็นพุทธพจน์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวพุทธ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานและระดับสูง ทั้งรูปแบบสแสดงเป็นข้อความบนเว็บเพ็จ(Html) เป็นเอกสารแบบ pdf เสียงธรรมบรรยาย และวิดีโอธรรมะ โดยระบบการบริหารการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น จะเป็นสื่อแบบปฏิสัมพันธ์บนเว็บไซต์ เช่น เปิดโอกาสให้มีการประชุม กิจกรรมบนกระดานสนทนา การสร้าง Wiki, Skype, Blogs และ Emails
-
ฝึกอบรมครูสอนศีลธรรมแบบออนไลน์ กำหนดให้มีโปรแกรมการฝึกอบรมการสอนโดยจะมีนิสิตทำการศึกษาวิจัยนำร่องเกี่ยวกับพุทธศาสตร์แบบออนไลน์ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมทดสอบอยู่ 3 กลุ่ม คือ นักการศึกษา ครูอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะสอนธรรมะ และ นักจิตวิทยา
ผลการดำเนินงาน
-
ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่มีความปลอดภัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตลอดจนจดทะเบียน ISP ในระดับ Exabytes
-
ได้จดทะเบียน domain name เป็นของระบบ มีชื่อว่า www.buddhistelibrary.org
-
ติดตั้งระบบฐานข้อมูล MSQL บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
-
พัฒนาเนื้อหาตัวอย่างบนหน้าเว็บ
-
ติดตั้งระบบ Buddhist eLearning Studies System บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
-
ลงนามความร่วมมือกับภาคีสมาชิกระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(MCU) กับ พุทธธรรมศึกษาสมาคม(ภายใต้ชื่อ BuddhaNet) วิทยาลัยชาวพุทธนานาชาติ _หาดใหญ่(International Buddhist College) และ วัด กวงมิง ซัน ภูเจียว ชันซื่อ ประเทศสิงคโปร์
แผนงานเฉพาะหน้า
-
BuddhaNet จะนำเสนอข้อมูลดิจิตอล ประเภท หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สมุดภาพ ไฟล์เสียง เป็นต้น เข้าสู่ระบบ
-
ถ้าเป็นไปได้ จะดำเนินการรวบรวมเนื้อหาดิจิตอลจากแหล่งข้อมูล หรือจากองค์กรชาวพุทธอื่นๆ เป็นต้นว่า ห้องสมุดชาวพุทธสิงคโปร์ เป็นต้น
-
พัฒนากลุ่มการศึกษาพระพุทธศาสนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยแสดงผลเป็นทุกระดับ ตั้งแต่ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 – ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์
-
พัฒนาบนเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์ โดยการใช้ซอฟท์แวร์โอเพิน ชื่อว่า ‘Claroline’
-
เชิญชวนเหล่านักศึกษาที่ศึกษาพระพุทธศาสนา และหน่วยงานวิชาการ เพื่อนำเสนอปริญญานิพนธ์ออนไลน์
-
ติดตั้งระบบบัญชีรายชื่อ อย่างเช่น ‘Web log’ เป็นต้น
-
ใช้โปรแกรมสิ้นทางความคิด ซึ่งจะนำเสนอเป็นแผ่นภาพของเนื้อหาห้องสมุดดิจิตอล
แผนงานในอนาคต (Future Plans )
1. ช่วยเหลือหน่วยงานพระพุทธศาสนาเพื่อปรับปรุงข้อมูลด้านธรรมะ ตลอดถึงข้อความหรือเทปเสียง ไปสู่เนื้อหาที่เป็นดิจิตอลที่มีคุณภาพสูง
อย่างไร โดยการจัดทำกลุ่มทำงานและฝึกสอนพระภิกษุหนุ่มหรือภิกษุณีเพื่อก้าวสู่เป้าหมายนั้น. พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะติดตั้งศูนย์ฝึกหัดด้านสื่อผสม เพื่อจะทำงานที่บ้านใหม่ของบุดดาเน็ต ที่วัดป่าโพธิ เมืองทรูเลอรา ใกล้ลิสมอร์ รัฐนิวเซาร์เวอร์ ประเทศออสเตรเลีย
2. แปลข้อมูลธรรมะที่เสร็จแล้ว ไปสู่ภาษาอื่นๆ
อย่างไร ต้องการความเชียวชาญเฉพาะทาง และนำบุคคลและหรือองค์กรที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน – ซึ่งจะสำเร็จได้ก็ต้องการความสนับสนุนทางการเงินจากหลายฝ่าย เพื่อสนุนสนับงานนี้
3. การทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
อย่างไร? ด้วยการใช้ฐานข้อมูลสำเร็จ ซึ่งสามารถติดตั้งออนไลน์จากข้อมูลสำรอง ที่สามารถอนุญาตให้องค์กรสามารถนำเสนอข้อมูล คำสอน หรือเหตุการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ต้องการดูฐานข้อมูลรายนามผู้นับถือศาสนาพุทธทั่วโลกของเว็บ Buddhanet สามารถดูได้ที่ http://www.buddhanet.net/wbd/
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเครือข่าย
อย่างไร? นี้เป็นการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หุ้นส่วนของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความร่วมมือในการใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อการเรียนการสอน โดยการใช้โปรแกรม Claroline หรือซอฟท์แวร์ฟรีเจ้าอื่น
5. พัฒนาข้อมูลสื่อผสมด้านพระพุทธศาสนา
อย่างไร? นี้เป็นความคาดหวังสูงที่จะจัดทำแหล่งข้อมูลระดับสูงโดยบุคลากรที่มีทักษะ โดยการใช้โปรแกรมสื่อผสม ชื่อว่า ‘Flash’ ที่สามารถหาได้ สามารถดูตัวอย่างได้ที่: http://www.buddhanet.net/multimedia.htm
eLibrary จะบริหารจัดการอย่างไร
เป็นการจัดตั้งฐานความร่วมมือระว่างหน่วยงานชาวพุทธกันและกัน ความร่วมมือด้านห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์นั้น แต่ละหน่วยงานสามารถเลือกที่จะนำเสนอข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ซึ่งพวกเขาสามารถที่พัฒนาข้อมูล เพื่อนำเสนอข้อมูลบนโดเมนสาธารณะ
ยิ่งกว่านั้น หุ้นส่วน สามารถติดตั้งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเสมือน ให้เป็นเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหลักได้ ยกตัวอย่าง www.yourname.buddhistelibrary.org
ก่ารร่วมลงทุนและการบริหารจัดการสำหรับโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของชาวพุทธนี้ จะเป็นการร่วมมือแบบ ‘Partnership Agreement’ ซึ่งเป็นการบริจาครายเดือน
-
ใครจะดูแลห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์? คณะทำงานและอาสาสมัครจาก BuddhaNet.net ดำเนินการดูแลคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและฐานข้อมูล.
-
เงินลงทุนจะมาจากที่ไหน? หุ่นส่วนของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายรายเดือนสำหรับการบริหารจัดการ ซึ่งจะฟรีสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป.
-
ข้อมูลดิจิตอลจะมีต้นกำเนิดจากที่ไหน? จากองค์กรชาวพุทธและหุ่นส่วนของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรู้กันโดยทั่วไปว่า ผู้ใช้ออนไลน์
ข้อมูลติดต่อสำหรับโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของชาวพุทธ
Buddha Dharma Education Association
78 Bentley Road, Tullera, via Lismore NSW AUSTRALIA
Telephone: +612 6628 2426
Webmaster: Ven Pannyavaro <webmaster@buddhanet.net>
Support: <support@buddhistelibrary.org>
|